สรุปเนื้อหาสาระเรื่องตรรกศาสตร์ วิชาคณิตศาตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
1.
ประพจน์ คือประโยคหรือข้อความที่เป็นจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
ซึ่งประโยคหรือข้อความดังกล่าวจะอยู่ในรูปบอกเล่าหรือปฏิเสธก็ได้
ในตรรกศาสตร์เรียกการเป็น “จริง” หรือ “เท็จ” ของแต่ละประพจน์ว่า “ค่าความจริงประพจน์”
2. ให้ p และ q เป็นประพจน์ใดๆ
เมื่อเชื่อมด้วยตัวเชื่อม “และ” (Ù) “หรือ” (Ú
)
“ถ้า...แล้ว...” ( → ) และ “ก็ต่อเมื่อ” (↔)
จะมีข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับค่าความจริงของประพจน์ที่ได้จากการเชื่อมประพจน์ p และ q
โดยให้ T และ F แทนจริงและเท็จตามลำดับ
ดังนี้
p |
q |
p Ù q |
p v
q |
p ® q |
p ↔ q |
T |
T |
T |
T |
T |
T |
T |
F |
F |
T |
F |
F |
F |
T |
F |
T |
T |
F |
F |
F |
F |
F |
T |
T |
ถ้า
p เป็นประพจน์ใดๆ แล้ว นิเสธ ของ p
เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ~
p และเขียนตารางค่าความจริง ~ p ได้ดังนี้
p |
q |
T |
F |
F |
T |
3.ให้ p,q และr เป็นประพจน์
ซึ่งยังไม่กำหนดค่าความจริง จะเรียก p,q และ r ว่าเป็นตัวแปรแทนประพจน์ใดๆ และเรียกประพจน์ที่มีตัวเชื่อม เช่น ~ p,
p Ù q ,
p v q , p®q , p↔q ว่า “รูปแบบของประพจน์”
4.ถ้ารูปแบบของประพจน์สองรูปแบบใดมีค่าความจริงตรงกันกรณีต่อกรณี
แล้วจะสามารถนำไปใช้แทนกันได้ เรียกสองรูปแบบของประพจน์ดังกล่าวว่าเป็น
รูปแบบขอลประพจน์ที่สมมูลกันทรูปแบบของประพจน์ที่สมมูลกันที่ควรทราบมีดังนี้
p ≡ ~ (~ p)
p Ù q ≡ q Ù p
p Ú q ≡ q Ú p
~ ( p Ù q) ≡ ~ p
Ú ~ q
~ ( p Ú q) ≡ ~ p Ù ~ q
p ® q ≡ ~ p v q
p ® q ≡ ~
q ® ~ p
p ↔ q ≡ ( p ® q ) Ù
( q ® p )
p Ù ( q Ú r ) ≡ ( p Ù q ) Ú ( p Ù r
)
p Ú ( q Ù r ) ≡ ( p Ú q) Ù ( p Ú r )
5. รูปแบบของประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงทุกกรณี เรียกว่า สัจนิรันดร์
6.
การอ้างเหตุผลคือ การอ้างว่า เมื่อมีประพจน์ p1,p2,…,pn
ชุดหนึ่ง แล้วสามารถสรุปประพจน์ C ประพจน์หนึ่งได้
การอ้างเหตุผลประกอบด้วยส่วนสำคัญสองส่วนคือ เหตุหรือสิ่งที่กำหนดให้ ได้แก่
ประพจน์ p1, p2,…, pn และผลหรือข้อสรุป คือ ประพจน์ C โดยใช้ตัวเชื่อม Ù
เชื่อมเหตุทั้งหมดเข้าด้วยกัน และใช้ตัวเชื่อม ® เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผลดังนี้
(p1
Ù p2
Ù … Ù
pn ) ® C
จะกล่าวว่า การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล เมื่อรูปแบบของประพจน์
(p1 Ù p2
Ù … Ù
pn ) ® C เป็นสัจนิรันดร์
7. ประโยคเปิด คือ ประโยคบอกเล่าหรือประโยชน์ปฏิเสธที่มีตัวแปร
และเมื่อแทนตัวแปรด้วยสมาชิกในเอกภพสัมพัทธ์แล้วได้ประพจน์
8. เรียก “สำหรับ...ทุกตัว”
และ “สำหรับ...บางตัว” ว่า
ตัวบ่งปริมาณ แทนด้วยสัญลักษณ์ " และ $ ตามลำดับโดยใช้สัญลักษณ์
"x แทน
สำหรับ x ทุกตัว
$x แทน สำหรับ x ทุกตัว
ถ้า
P(x) เป็นประโยชน์เปิดที่มี x เป็นตัวแปร ค่าความจริงของ P(x) ที่มีตัวบ่งปริมาณตัวเดียว เป็นดังนี้
"x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ แทนตัวแปร x ใน P(x) ด้วยสมาชิก แต่ละตัวในเอกภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริงทั้งหมด
"x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อ แทนตัวแปร x ใน P(x) ด้วยสมาชิก อย่างน้อยหนึ่งตัวในเอกภพสัมพัทธ์
แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จ
$x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นจริง ก็ต่อเมื่อ แทนตัวแปร x ใน P(x) ด้วยสมาชิก อย่างน้อยหนึ่งตัวในเอกภพสัมพัทธ์
แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นจริง
$x[P(x)] มีค่าความจริงเป็นเท็จ ก็ต่อเมื่อ แทนตัวแปร x ใน P(x) ด้วยสมาชิก แต่ละตัวในเอกภพสัมพัทธ์ แล้วได้ประพจน์ที่มีค่าความจริงเป็นเท็จทั้งหมด
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น