ความหมายของสถิติศาสตร์

 1. สถิติศาสตร์ หมายถึง วิชาที่ว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาตอบคำถามอธิบายปรากฏการณ์หรือประเด็นที่สนใจ

2. ประชากร หมายถึง กลุ่มของหน่วยทั้งหมดในเรื่องที่สนใจศึกษาหน่วยในที่นี้อาจเป็นคนสัตว์หรือสิ่งของ

3. ตัวอย่าง หมายถึงกลุ่มย่อยของประชากรที่ถูกเลือกมาเป็นตัวแทนของประชากรโดยทั่วไปมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ตัวอย่างในการสรุปผลเกี่ยวกับลักษณะของประชากรที่สนใจ

4. ตัวแปร หมายถึง ลักษณะบางประการของประชากรหรือตัวอย่างที่สนใจศึกษา

5. ข้อมูล หมายถึง ข้อความจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่สามารถใช้ในการสรุปผลในเรื่องที่สนใจรศึกษาอาจเป็นได้ทั้งตัวเลขหรือไม่ใช่ตัวเลขหรืออาจหมายถึงค่าของตัวแปรที่สนใจศึกษา

6. พารามิเตอร์ หมายถึง ค่าวัดที่แสดงลักษณะของประชากรซึ่งเป็นค่าคงตัวที่คำนวณหรือประมวลจากข้อมูลทั้งหมดของประชากร

7. ค่าสถิติ เป็นค่าคงตัวที่พิจารณาจากข้อมูลของตัวอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายลักษณะของตัวอย่างนั้นหรือเพื่อประมาณค่าของพารามิเตอร์แล้วนำไปใช้ในการอธิบายลักษณะของประชากร

 8. ข้อมูลที่จะนำมาใช้ศึกษาสามารถแบ่งได้หลายประเภทที่สำคัญมีดังนี้

     8.1 การแบ่งประเภทของข้อมูลตามแหล่งที่มาของข้อมูล

           8.1.1 ข้อมูลปฐมภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ดำเนินการเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลหรือต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง

           8.1.2 ข้อมูลทุติยภูมิ คือข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมจากเจ้าของข้อมูลหรือต้นกำเนิดของข้อมูลโดยตรง แต่ใช้ข้อมูลที่บุคคลหรือหน่วยงานอื่นเก็บรวบรวมมาซึ่งส่วนใหญ่ผู้ใช้มักจะใช้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยภาครัฐซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลตามภารกิจของหน่วยงาน

8.2 การแบ่งประเภทของข้อมูลตามระยะเวลาที่จัดเก็บ     

     8.2.1 ข้อมูลอนุกรมเวลา คือชุดข้อมูลที่เกิดขึ้นและจัดเก็บตามลำดับเวลาต่อเนื่องกันไปตลอดช่วง ๆ หนึ่ง

     8.2.2 ข้อมูลตัดขวาง คือข้อมูลที่บอกสถานะหรือสภาพของสิ่งที่สนใจ ณ จุดหนึ่งของเวลา  

8.3 การแบ่งประเภทของข้อมูลตามลักษณะของข้อมูล

      8.3.1 ข้อมูลเชิงปริมาณ คือข้อมูลที่ได้จากการวัดหรือการนับค่าโดยแสดงเป็นตัวเลขหรือปริมาณที่สามารถนำไปบวกลบคูณหรือหารและเปรียบเทียบกันได้

      8.3.2 ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือข้อมูลที่แสดงลักษณะประเภทสมบัติในเชิงคุณภาพและอื่น ๆ ที่ไม่สามารถวัดค่าเป็นตัวเลขที่นำมาบวกลบคูณหรือหารกันได้

9. สถิติศาสตร์เชิงพรรณนา เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่สรุปสาระสำคัญของข้อมูลชุดหนึ่งซึ่งเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลเชิงปริมาณเพื่ออธิบายลักษณะหรือสภาพของข้อมูลชุดนั้นว่าเป็นอย่างไรโดยทั่วไปข้อมูลเชิงคุณภาพจะใช้การนำเสนอด้วยตารางความถี่แผนภูมิแท่งฐานนิยมและอื่น ๆ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้การนำเสนอด้วยฮิสโทแกรมแผนภาพกล่องค่าต่ำสุดค่าสูงสุดค่าเฉลี่ยและอื่น ๆ

10. สถิติศาสตร์เชิงอนุมาน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการหาข้อสรุปเกี่ยวกับลักษณะของประชากรโดยใช้ข้อมูลจากตัวอย่างที่ได้มาจากประชากรนั้น

ความคิดเห็น