Parts of Speech หมายถึง ประเภทของส่วนต่างๆ ของ คำพูดแต่ถ้าจะแปลให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็แปลได้ว่า คำชนิดต่างๆ ที่จะบอกเราว่าแต่ละคำนั้นมีหน้าที่ทำอะไรในประโยชคซึ่งนำมาร้อยเรียงเป็นวลี เป็นประโยค ที่นำไปใช้สนทนาเป็นเรื่องเป็นราว หรือนำไปแต่งหนังสือเป็นเล่มหนาๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งหมดที่เข้าใจกันทั่วๆ มี 8 ชนิด ได้แก่ Noun - คำนาม Pronoun - คำสรรพนาม Verb - คำกริยา Adverb - คำกริยาวิเศษณ์ Adjective - คำคุณศัพท์ Preposition - คำบุพบท Conjunction - คำสันธาน Interjection - คำอุทาน
เรามาเริ่มเรียนรู้กันนะคะ
Noun คำนาม คือ คำที่ใช้แทน คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ความรู้สึก แบ่งออกได้ 5 ชนิดคือ
1. Common Noun สามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อไม่ชี้เฉพาะของ คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น man, dog, pen, school ….
2. Proper Noun วิสามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ และจะต้องเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอ เช่น Ladda, Dang, Diccky, Toyota, Thailand
3. Collective Noun สมุหนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อของหมู่คณะ, กลุ่ม, ฝูง, เป็นต้น ส่วนมากมัก จะเป็นคำผสมที่ครั่นด้วย of เสมอ และสมุหนามนี้ต้องถือว่าเป็นนามพหูพจน์ตลอดไป ดังนั้นกิริยาจึงต้องใช้ให้เป็นพหูพจน์ด้วย (อนึ่งบางคำอาจเป็นคำคำเดียวก็ได้ไม่จำเป็นต้องมี of และถ้าสมุหนามนี้มาทำหน้าที่เป็นประธานแล้วหมายถึงหน่วยเดียวก็ใช้กิริยาเป็นเอกพจน์ แต่ถ้าหมายถึงแยกเป็นแต่ละบุคคลที่มีอยู่หลายคน ถือว่าสมุหนามนั้นเป็นพหูพจน์ ต้องใช้กิริยาให้เป็นพหูพจน์ด้วย)
4. Material Noun วัตถุนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อของเนื้อวัตถุ ซึ่งส่วนมากก็ได้แก่นามที่เป็นของเหลว, แร่, ธาตุ,โลหะ แต่นามบางชนิดเมื่อยังไม่แยกก็จัดเป็น common Noun แต่เมื่อแยกแล้วจะมาเป็น Material Noun เช่น cow, ox, วัวมาแบ่งเป็น beef เนื้อวัว
5. Abstract Noun อาการนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อของลักษณะ, สภาวะ, และการกระทำ นามจำพวกนี้ไม่มีตัวตน เป็นเพียงกิริยาอาการเท่านั้น มีสำเนียงแปลว่า การ หรือ ความ ขึ้นต้น เช่น happiness ความสุข, Slavery ความเป็นทาส , eating การกิน เป็นต้น
วิธีใช้
นามทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมานั้น เวลานำไปพูดหรือเขียน สามารถทำหน้าที่ได้ 7 อย่างคือ
1. เป็น Subject ของกิริยาในประโยคได้.
2. เป็น Object ของกิริยาในประโยคได้.
3. เป็น Object ของ Preposition (บุรพบท) ได้.
4. เป็น Complement คือส่วนสมบูรณ์ของกิริยาได้.
5. เป็น Appositive คือเป็นนามซ้อนนามได้.
6. เป็น Address คือเป็นนามเรียกขานได้(และต้องใส่ , Comma ด้วย).
7. เป็น Possessive คือเป็นนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ (และต้องใส่ Apostrophe’s ด้วย)
Pronoun คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม แบ่งออกได้ 8 ชนิดคือ
1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม
2. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม
3. Definite Pronoun นิยมสรรพนาม
4. Indefinite Pronoun อนิยมสรรพนาม
5. Interrogative Pronoun ปฤจฉาสรรพนาม
6. Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม
7. Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อนหรือเน้น
8. Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม
1. Personal Pronoun บุรุษสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนชื่อของผู้พูด, ผู้ฟัง, และผู้ที่ถูกกล่าวถึง ซึ่งมีอยู่ 2 พจน์ 3 บุรุษ คือ
| เอกพจน์ | พหูพจน์ |
บุรุษที่ 1 | I | we |
บุรุษที่ 2 | you | you |
บุรุษที่ 3 | he, she, it | the |
Personal Pronoun แบ่งได้ 5 รูป คือ
รูปที่ 1 | รูปที่ 2 | รูปที่ 3 | รูปที่ 4 | รูปที่ 5 |
I | Me | My | mine | myself |
We | us | Our | ours | ourselves |
You | you | Your | yours | yourself |
He | him | his | his | himself |
she | her | Her | hers | herself |
It | It | its | its | itself |
they | them | there | theirs | themselves |
2. Possessive Pronoun สามีสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ซึ่งก็คือบุรุษสรรพนามรูปที่ 4 นั่นเอง เวลาใช้ไม่ต้องมีนามตามหลัง มีหน้าที่ 3 อย่างคือ
2.1 เป็นประธานของกิริยาในประโยค เช่น Your book is green, mine is red.
2.2 เป็นส่วนสมบูรณ์ของกิริยา เช่น this pencil is mine, that one is your.
2.3 ใช้เรียงตามหลังบุรพบท(คำเชื่อมคำ) เพื่อเน้นความเป็นเจ้าของให้ชัดเจนขึ้นได้เช่น A friend of yours was killed last night.
3. Definite Pronoun นิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ชี้เฉพาะและใช้แทนนามได้ ที่นิยมใช้แพร่หลายมีอยู่ 6 ตัวคือ (รวมทั้ง which ด้วย)
this, that, one 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นเอกพจน์.
These, those, ones 3 ตัวนี้ใช้แทนนามที่เป็นพหูพจน์.
*นิยมสรรพนามนี้ ทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมของกิริยาในประโยคได้ตามแต่ จะ ใช้งาน.
4. Indefinite pronoun อนิยมสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป ไม่เฉพาะเจาะจงว่าแทนคนนั้นคนนี้โดยตรง (ตรงข้ามกับ Definite Pronoun) ได้แก่คำว่า some, any, all, someone, somebody, anybody, few, everyone, many, nobody, everybody, other……etc.
*ข้อสังเกต ทั้งนิยมสรรพนามและอนิยมสรรพนาม ถ้าใช้โดยมีคำนามอื่นตามหลังจะกลายเป็นคำคุณศัพท์ไป แต่ถ้าใช้โดยไม่มีคำนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นนิยมสรรพนามหรืออนิยมสรรพนาม.
5. Interrogative pronoun ปฤจฉาสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้เป็นคำถาม และต้องไม่มีนามตามหลังด้วยจึงจะเรียกว่าเป็นปฤจฉาสรรพนาม ได้แก่ Who , whom, whose , what, which ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้.
· Who (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นประธานของกิริยาในประโยคได้ บางครั้งก็เป็นกรรมได้ เช่น. Who is standing there ? ใครกำลังยืนอยู่ที่นั่น?.
· Whom (ใคร) ใช้ถามถึงบุคคลและเป็นกรรมของกิริยาหรือบุรพบท (บางครั้งใช้ Who แทน).เช่น Whom do you love ? คุณรักใคร ?.
· Whose (ของใคร) ใช้ถามถึงเจ้าของ และต้องเป็นบุคคลเท่านั้น เช่น. Whose is the car ? รถคันนี้เป็นของใคร
· What (อะไร) ใช้ถามถึงสิ่งของเป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น:-
- ถ้าเป็นประธานต้องไม่ใช้กริยาอะไรมาช่วยทั้งสิ้น เช่น What delayed you ?
อะไรทำให้คุณล่าช้า.
- ถ้าเป็นกรรมต้องมีกริยาช่วยตัวอื่นมาร่วมด้วย และวางไว้หลัง What เช่น What
do you want ?
· Which (สิ่งไหน อันไหน) ใช้ถามถึงสัตว์, สิ่งของ, เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น ถ้าเป็นประธานไม่ต้องใช้กริยาอื่นมาช่วย Which is the best? อันไหนดีที่สุด ?.(อนึ่งปฤจฉาสรรพนาม Whose ,which, what นี้ ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังก็เป็นคุณศัพท์ไป ถ้าไม่มีนามอื่นตามหลังจึงจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม)
6. Relative Pronoun ประพันธ์สรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยค ซึ่งอาจเป็นประธานของประโยคหลังได้ด้วย ได้แก่ Who, Whom, Whose, Which, Where, what, when, why, that .
· Who (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นจะต้องเป็นผู้กระทำด้วย เช่น The man who came here last week is my cousin. ชายผู้ซึ่งมาที่นี่เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเป็นลูกพี่ลูกน้องของฉัน.
· Whom (ผู้ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้ถูกกระทำด้วย เช่น The boy whom you saw yesterday is my brother. เด็กชายผู้ซึ่งคุณพบเมื่อวานนี้เป็นน้องชายของผม.
· Whose (ผู้ซึ่ง…..ของเขา) ใช้แทนนามที่เป็นบุคคลเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามที่ตามหลัง ดังนั้นเมื่อมี Whose ก็ต้องมีนามตามหลัง Whose เสมอ เช่น The girl whose father is a teacher goes to school every day. เด็กหญิงผู้ซึ่งพ่อของเขาเป็นครูนั้นไปโรงเรียนทุกวัน.(เป็นคำแสดง ความ เป็นเจ้าของ Father).
· Which (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนนามที่เป็นสัตว์ สิ่งของ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม The animal which has wing is a bird. สัตว์ที่มีปีกนั้นคือนก(เป็นประธานของอนุประโยค has wings) The kitten which I gave to my aunt is very naughty. ลูกแมวซึ่งฉันให้แก่คุณป้าของฉันไปนั้นซุกซนมาก.(เป็นกรรมของกริยา gave ในอนุประโยค I gave to my aunt).
· Where (อันเป็นที่) ใช้แทนนามที่เป็นสถานที่ เป็นได้ทั้งประธานและกรรม เช่น The night club is the place where is not suitable for children. ไนท์คลับเป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับเด็กๆ(เป็นประธานของอนุประโยค is not suitable for children ) The hotel is the place where I like best . โรงแรมเป็นสถานที่ที่ผมชอบมากที่สุด.(เป็นกรรมของ like).
· What (อะไร,สิ่งที่) ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ นามที่ What ไปแทนทำหน้าที่เป็นประพันธ์สรรพนามนั้นไม่ต้องปรากฏให้เห็นอยู่ข่างหน้าเหมือนประพันธ์สรรพนามตัวอื่น ทั้งนี้เพราะถูกละไว้ในฐานะที่เข้าใจแล้ว เช่น I know what is in the box. ฉันรู้ว่าอะไรอยู่ในกล่องใบนี้.
· When (เมื่อ,ที่) ใช้แทนนามที่เกี่ยวกับเวลา ,วัน, เดือน,ปี เช่น Sunday is the day when we don’t work. วันอาทิตย์คือวันที่เราไม่ทำงาน.
· Why (ทำไม) ใช้แทนนามที่เป็นเหตุผล (ส่วนมากใช้แทน reason ) เช่น This is the reason why I go to Hong Kong. นี้คือเหตุผลที่ว่า ทำไมผมจึงไปฮ่องกง.
· That (ที่,ซึ่ง) ใช้แทนคน, สัตว์, สิ่งของ, และสถานที่ได้ แต่ต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันได้แก่ :-
1. เป็นนามที่มีคุณสมบัติสูงสุดมาขยายอยู่ข้างหลัง เช่น He is the tallest man that I have ever seen. เขาเป็นคนสูงที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา.
2. เป็นนามที่มีเลขจำนวนนับที่มาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น China is the first country that I am going to visit. จีนเป็นประเทศแรกที่ข้าพเจ้าจะไปเที่ยว.
3. เป็นนามที่มีคุณศัพท์บอกปริมาณมาขยายอยู่ข้างหน้า เช่น She has much money that she give me. หล่อนมีเงินอยู่มากที่หล่อนจะให้ผม.
4. เป็นสรรพนามผสมต่อไปนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่แล้ว คือ someone, somebody, something, anyone, anything, anybody, anyone, everything, no one, nothing, etc. เช่น There is nothing that I can do for you. ไม่มีอะไรที่ผมจะช่วยคุณได้.
7. Reflexive Pronoun สรรพนามสะท้อนหรือเน้น ได้แก่บุรุษสรรพนามที่ 5 นั่นเอง อันได้แก่ myself, yourself, ……. Themselves. เวลาใช้มีวิธีใช้ 4 อย่างคือ :-
1. เรียงไว้หลังประธาน เมื่อต้องการเน้นว่าประธานเป็นผู้กระทำกิจนั้นด้วยตนเอง เช่น I myself study English. ผมเรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง.
2. เรียงไว้หลังกริยา เมื่อบอกว่าผลการกระทำนั้นเกิดจากผู้กระทำเองเช่น I will punish myself if I do mistakes ผมจะลงโทษตัวเอง หากผมทำผิด.
3. เรียงไว้หลังกรรม เมื่อต้องการเน้นกรรมนั้นเช่น I spoke to the President himself . ผมได้พูดกับตัวท่านประธานาธิบดีเอง.
4. เรียงไว้หลังบุรพบท by วางไว้สุดประโยคทุกครั้งไป เมื่อต้องการแสดงว่าประธานผู้นั้นกระทำกิจนั้นโดยลำพังคนเดียว เช่น Pranee makes her dress by herself.
8. Distributive Pronoun วิภาคสรรพนาม คือสรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการแบ่งหรือจำแนกออกเป็นครึ่งหนึ่ง, สิ่งหนึ่ง, หรือตัวหนึ่ง วิภาคสรรพนามที่นิยมใช้กันมากคือ
each แต่ละ, either คนใดคนหนึ่ง, neither ไม่ใช่ทั้งสอง หรือไม่ใช่ทั้งสอง เช่น
There are ten boy each has one hundred bath. มีเด็กอยู่ 10 คน แต่ละคนมีเงินอยู่คนละ 100 บาท.
* ข้อสังเกต วิภาคสรรพนามถ้าใช้ลอยๆเป็นสรรพนาม แต่ถ้าใช้โดยมีนามอื่นตามหลังจะเป็นคุณศัพท์
Article
Article คือ คำที่ใช้นำหน้านาม คือคำนามในภาษาอังกฤษทุกตัว เวลาพูด-เขียนจะต้องมี Article นำหน้าทั้งสิ้น(ยกเว้นบางตัวที่จะกล่าวต่อไป)
Article มีอยู่ 2 ชนิดคือ
1. Indefinite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายทั่วไป อันได้แก่ A , An.
2. Definite Article คือคำนำหน้านามแล้วมีความหมายชี้เฉพาะ ได้แก่ The .
หลักทั่วไปของการใช้ A
คือเมื่อ A นำหน้านามใดนามนั้นต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ อันได้แก่
1. เป็นนามเอกพจน์
2. เป็นนามนับได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ
4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป เช่น a book, a man, a bus, a pen
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ A นำหน้า คือนามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ แต่อ่านออกเสียงสระที่อยู่ถัดไป นามตัวนั้นให้ใช้ AN นำหน้าแทน (มี H เท่านั้น)
หลักทั่วไปของการใช้ AN
คือเมื่อ AN นำหน้านามใด นามนั้นจะต้องมีลักษณะครบ 4 ประการ คือ
1. เป็นนามเอกพจน์
2. เป็นนามนับได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ คือ A , E , I , O , U.
4. เป็นนามที่มีความหมายทั่วไป
* ข้อยกเว้น ห้ามใช้ AN นำหน้าคือ นามบางตัวที่ขึ้นต้นด้วยสระ แต่อ่านออกเสียงเป็นพยัญชนะ”ย” นามตัวนั้นให้ใช้ A นำหน้าแทน (มี U และ E เท่านั้น).
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ทั้ง A และ AN นำหน้าเด็ดขาด
1. นามที่นับไม่ได้ทุกชนิด
2. นามพหูพจน์ทุกชนิด
หลักทั่วไปของการใช้ THE
คำว่า The แปลว่า นั้น,นี้ คือเป็นการชี้เฉพาะถึงสิ่งที่รู้กันอยู่แล้ว ซึ่ง The ใช้นำหน้านามได้ทุกชนิด ทุกประเภท นั่นคือ
1. เป็นนามเอกพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
2. เป็นนามพหูพจน์ ก็ใช้ The นำหน้าได้
3. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ก็ใช้ The นำหน้าได้
4. เป็นนามที่ขึ้นต้นด้วยสระ ก็ใช้ The นำหน้าได้ (แต่ให้อ่านว่า ดิ )
5. เป็นนามที่นับได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
6. เป็นนามที่นับไม่ได้ ก็ใช้ The นำหน้าได้
7. แต่นามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้จะต้องมีความหมายชี้เฉพาะเจาะจงเท่านั้น เช่น.
The water in the bottle is very poor. น้ำที่อยู่ในขวดนี้เย็นมาก.
นามต่อไปนี้ห้ามใช้ the นำหน้า
1. นามที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ
2. นามที่ระบุไว้ในหัวข้อว่าห้ามใช้ the นำหน้า (ซึ่งมีข้อห้ามมากมายแต่จะไม่กล่าวถึง เช่น อาการนาม,ชื่อเฉพาะของคน,ชื่อถนน ,ชื่อวัน, เดือน, ปี, ลัทธิ,ศาสนา เป็นต้นซึ่ง ห้ามใช้ ทั้ง a, an,และthe นำหน้า)
* อนึ่งแม้ลักษณะของประโยคจะไม่มีคำบ่งชี้เฉพาะเอาไว้ แต่ถ้านามนั้นเป็นที่รู้จักกันดีระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง ก็ให้ใช้ the นำหน้าได้ เช่น
When you go out, don’t forget to close a door. เมื่อคุณออกไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานไหนก็ได้)นะ.
When you go out, don’t forget to close the door. เมื่อคุณไปข้างนอก อย่าลืมปิดประตู(บานนั้น)นะ.
การใช้ a, an, the แบบระคน
- ถ้านามนั้นไม่มีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมาขยายอยู่ข้างหลังให้ใช้ a, an ทันที เช่น
A boy like to see monkey. เด็กชอบดูลิง.
- ถ้านามนั้นมีบุรพบทวลีหรืออนุประโยคมา ขยายอยู่ข้างหลัง ให้ใช้ the ทันที เช่น
The man in this room is our teacher. ผู้ชายที่อยู่ในห้องนี้เป็นครูของเรา.
* มีหลักพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ นามใดก็ตามที่เป็นเอกพจน์นับได้ ที่กล่าวขึ้นมาลอยๆ ให้เติม a , an ทันที แต่ถ้านามนั้นถูกยกขึ้นมากล่าวอีกเป็นครั้งที่ 2 ให้เติม the ทันทีเช่น
A black cat, the cat is fat. แมวตัวหนึ่งสีดำ แมวตัวนั้นอ้วน
* อนึ่งยังมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับคำนามบางตัวว่านามตัวใดใช้เฉพาะ a, an และนามตัวใดใช้เฉพาะ the ซึ่งเป็นคำนามพิเศษ แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง.
3. Verb คำกริยา คือ คำที่แสดงการกระทำ หรือบอกสภาวะ
Verb คำกริยา
Verb (กริยา) คือคำที่แสดงถึงการกระทำหรือถูกกระทำของคำที่ทำหน้าที่เป็นประธาน(หรือคำที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาด้วยก็ได้) เพื่อบอกถึง Tense (ช่วงเวลาที่กระทำ) Voice (ผู้พูด) Mood (อารมณ์)
Verb แบ่งออกเป็น 3 ชนิดคือ
1. สกรรมกริยา Transitive Verb กริยาที่ต้องมีกรรมมารับ.
2. อกรรมกริยา Intransitive Verb กริยาที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ.
3. กริยานุเคราะห์ Auxiliary Verb กริยาที่บอก Tens, Voice, Mood.
1. สกรรมกริยา คือกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น Kick (เตะ), Eat (กิน) เป็นต้น.
คำที่นำมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ก็คือ
1. นามทุกชนิด เช่น A mango.
2 สรรพนาม เช่น Him.
3. กริยาสภาวมาลา(สภาวะที่เกิดอยู่กับชีวิต) เช่น To study.
4. กริยาที่เติม ing แล้วนำมาใช้เป็นนาม เช่น sleeping.
5. วลีทุกชนิด เช่น I don’t know what to do.
6. อนุประโยค เช่น I know who will come tomorrow.
*อนึ่ง สกรรมกริยาบางตัวหรือบางประโยค ต้องมีตัวขยายกรรมมารับ จึงจะได้เนื้อความสมบูรณ์ เช่น The people made him king. (ประชาชนแต่งตั้งให้เขาเป็นพระราชา) เป็นต้น.
2. อกรรมกริยา คือกริยาที่มีเนื้อความอยู่ในตัวสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น Run, sleep, swim, sit. เป็นต้น แต่อกรรมกริยาบางตัวก็ต้องมีตัวขยายกิริยาเพื่อให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์ ซึ่งอกรรมกริยานั้นก็ได้แก่ Verb to be (เป็น, อยู่, คือ) Verb to have (เฉพาะแปลว่า มี) Become กลายเป็น), Seem (ดูเหมือนว่า), Feel (รู้สึก) Look (ดูเหมือน) Taste (มีรส) Appear (ปรากฏ,รุสึก) Smell (มีกลิ่น) , Grow (เจริญ) เป็นต้น.
3. กริยานุเคราะห์ หรือกริยาช่วย ได้แก่กริยาที่ไปทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่น เพื่อให้เป็น Mood, Voice, Tense ซึ่งกริยาเหล่านี้ใช้เป็นกริยาแท้ก็ได้ ใช้เป็นกริยาช่วยก็ได้ มีอยู่ทั้งหมด 24 ตัว คือ.
Is, am, are, was, were
Have, has, had,
Do, dose, did
Will, would
Shall, should
Can, could
May, might
Must
Need
Dear
Ought to, us to.
*ข้อสังเกตว่าจะเป็นกริยาแท้หรือเป็นกิริยาช่วยก็ให้ดูว่า ถ้ากริยาตัวใดตัวหนึ่งจาก 24 ตัวนี้อยู่ในประโยคเพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วย ก็เป็นกริยาแท้ แต่ถ้ามีกริยาอื่นมาร่วมอยู่ด้วยก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วย เช่น.
Ladda is a beautifily girl. (แท้).
Ladda is drinking water. (ช่วย).
หน้าที่ Verb to be
Verb to be ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้
1. วางไว้หน้ากริยาที่เติม Ing ทำให้ประโยคนั้นเป็น Continuous tense.
2. วางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก(เอากรรมขึ้นต้นประโยค) มีสำเนียงว่า ถูก เช่น A glass is broken. แก้วถูกทำให้แตกเสียแล้ว เป็นต้น.
3. วางไว้หน้ากริยา สภาวมาลา Infinitive แปลว่า จะต้อง มีความหมายเป็นอนาคต เพื่อแสดงความจงใจ เช่น I am to see my home every year. ฉันต้องไปเยี่ยมบ้านของฉันทุกๆปี เป็นต้น.
หน้าที่ของ Verb to do
Verb to ใช้ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นได้ดังนี้.
1. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม ตามหลักที่ว่า
Verb to have ไม่มี
Verb to be ไม่อยู่
Verb to do มาช่วย
2. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธเหมือนกรณีข้อ 1 (เติม ing หลัง do, dose )
3. ช่วยหนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้ความสำคัญกับกริยาตัวนั้น ว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น
จริงๆ โดยเรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน.
4. ใช้แทนกริยาตัวอื่นในประโยค เพื่อต้องการมิให้กล่าวกริยานั้นๆซ้ำๆซากๆ.
5. Verb to do ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า ทำ.
หน้าที่ของ Verb to have
Verb to have ใช้ทำหน้าที่ดังนี้คือ
1. เรียงไว้หน้ากริยาช่อง 3 ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect tense.
2. ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลาตามหลัง มีสำเนียงแปลว่า ต้อง ตลอดไป เช่น
I have to meet you tomorrow. ฉันต้องไปพบท่านวันพรุ่งนี้.
3. ใช้ในประโยคที่ให้ผู้อื่นทำอย่างใดอย่างหนึ่งให้ ในกรณีนี้ต้องใช้รูปประโยค Have + noun + Verb 3 . เช่น He has his house repaired. เขาให้ช่างซ่อมแซมบ้านของเขา.
หน้าที่ของ Will, shall, would, should.
Will ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 2, 3.
Shall ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาล ใช้กับประธานบุรุษที่ 1 คือ I, We.
Would ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.
1. ใช้เป็นอดีตของ will ในประโยคที่เปลี่ยนจากคำพูดของผู้อื่นมาเป็นของตน
2. ใช้เป็นกริยาช่วยในสำนวนการพูด “อยากจะ” “อยากให้”.
3. ใช้ในสำนวนการพูดว่า” ควรจะ…ดีกว่า” ควบกับ Better หรือ rather
Should ใช้เป็นกริยาช่วยได้ดังต่อไปนี้.
1. เป็นอดีตของ Shall ได้.
2. Should เมื่อแปลว่า “ควร” หรือ “ควรจะ” ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกประธาน
หน้าที่ของ May, Might
May นำมาช่วยได้ดังนี้.
1. เพื่อแสดงความมุ่งหมาย (เพื่อ)
2. เมื่อแสดงความปรารถนา หรืออวยพรให้(ขอให้) *ต้องวางไว้หน้าประโยค.
3. เพื่อช่วยถึงการอนุญาต หรือขออนุญาต(ควรจะ)
4. เพื่อแสดงความคาดคะเน (อาจจะ).
5. ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย (อาจจะ).
Might นำมาช่วยได้ดังนี้.
1. ใช้เป็นอดีตของ May.
2. ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่ใจว่าเขาจะทำอย่างนั้นจริง(แต่ถ้าแน่ใจใช้ May แทน).
Need
Need ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า “จำเป็นต้อง” ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ (ส่วนมากใช้เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้น และกริยาแท้ที่ตามหลัง Need ไม่ต้องใช้ To นำหน้า).
Need ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า "ต้องการ" และใช้เหมือนกริยาแท้ทั่วๆไป (ต้องมี To ตามหลัง Need ตลอดไป).
Dear
Dear ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า “กล้า” ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ และเป็น “ปัจจุบันกาล” คำตามหลังไม่มี To.
Ought to
Ought to แปลว่า “ควรจะ” เป็นกริยาพิเศษเหมือน is หรือ do นั่นเอง อาจใช้ should แทนก็ได้ แต่ความหมายอาจจะอ่อนกว่า.
Used to
Used to แปลว่า “เคย” เป็นกริยาพิเศษหมายความว่า “เคยกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นประจำ แต่บัดนี้ไม่ได้กระทำแล้ว”(กริยาตามหลัง ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไป และใช้ used to เหมือน is หรือ do).
4. Adverb คำกริยาวิเศษณ์ คือ คำทีใช้ขยายคำกริยาว่า ทำเมื่อไหร่ อย่างไร
Adverb กริยาวิเศษณ์
Adverbs คือคำที่ทำหน้าที่ขยายกริยา, คุณศัพท์ , หรือขยาย Adverbs ด้วยกันก็ได้
หลักการใช้ Adverbs
- ถ้าขยายกริยา ให้เรียงไว้หลังกริยา เช่น The old man walk slowly.
- ถ้าขยายคุณศัพท์ ให้เรียงไว้หน้าคุณศัพท์ เช่น Dang is very strong.
- ถ้าขยาย Adverbs ให้เรียงไว้หน้า Adverbs เช่น The train runs very fast.
ชนิดของ Adverbs
Adverbs แบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 3 หมวด คือ
1. Simple Adverbs กริยาวิเศษณ์สามัญ ใช้ขยายกริยาธรรมดานี่เอง แบ่งได้ 6 หมวดคือ
1. Adverbs of time กริยาวิเศษณ์บอกเวลา ได้แก่คำว่า now, ago, yesterday, ...
2. Adverbs of place กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า near, far, in, out, …
3. Adverbs of frequency กริยาวิเศษณ์บอกความสม่ำเสมอ ได้แก่คำว่า always, often, again, usually,
4. Adverbs of Manner กริยาวิเศษณ์บอกอาการ ได้แก่คำว่า well, slowly, quickly, fast..
5. Adverbs of Quantity กริยาวิเศษณ์บอกปริมาณมากน้อย ได้แก่คำว่า Many, much, very, too, quite…
6. Adverbs of affirmation or negation กริยาวิเศษณ์บอกการรับหรือปฏิเสธ ได้แก่คำว่า yes, no, not, not at all…
2. Interrogative Adverbs กริยาวิเศษณ์คำถาม ใช้ขยายกริยาเพื่อให้เป็นคำถาม (ต้องวางไว้หน้าประโยคเสมอ) แบ่งได้ 6 หมวด คือ
1. บอกเวลา ได้แก่คำว่า When (เมื่อไร), How long (นานเท่าไร).
2. บอกสถานที่ ได้แก่คำว่า Where (ที่ไหน).
3. บอกจำนวน ได้แก่คำว่า How many (มากเท่าไร), How often (กี่ครั้ง)..
4. บอกกริยาอาการ ได้แก่คำว่า How (อย่างไร)(ใช้กับ do).
5. บอกปริมาณ ได้แก่คำว่า How much (มากเท่าไร).
6. บอกเหตุผล ได้แก่คำว่า Why (ทำไม).
3.Conjunctive Adverbs กริยาวิเศษณ์สันธาน ใช้เชื่อมประโยคหน้าและหลังให้สัมพันธ์กัน ได้แก่คำว่า Why, Where, When, How, Whenever, While , As, Wherever..
หมายเหตุ Adverbs บางคำมีรูปเช่นเดียวกับ Adj. แต่การใช้ต่างกัน เช่น fast, hard, low, right, etc ซึ่งเราจะสังเกตได้จากการวาง คือ
- เมื่อวางไว้หน้านาม หรือหลัง Verb to be ก็จะเป็น Adj.
- ถ้าวางไว้หลังกริยาทั่วๆไป ก็จะเป็น Adverbs.
5. Adjective คำคุณศัพท์ คือ คำที่ใช้บอกลักษะคำนาม ว่ามีรูปร่างหน้าตา หรือลักษณะอย่างไร
Adjective คำคุณศัพท์
Adj. คือคำที่ใช้บรรยายคุณภาพของนาม (ขยายนาม) เช่น Good, tall, fat ..etc.
Adj. เวลานำไปใช้นั้นปรกติมีวิธีใช้อยู่ 2 วิธีคือ
1. เรียงไว้หน้านามที่ Adj. นั้นไปขยายโดยตรงก็ได้ เช่น
The fat man can’t run quick.
A clever boy can answer a difficult problem.
2. เรียงไว้หลัง Verb to be ก็ได้ เช่น.
Somsri is beautiful.
My dog is black.
* อนึ่งการใช้ Adj. แบบ 1 และ 2 นั้นเป็นการใช้ Adj. แบบทั่วๆไป แต่ยังมี Adj. พิเศษหลายตัวที่บังคับว่าจะต้องใช้วิธีใดวิธีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งเราจะไม่กล่าวถึง.
ชนิดของ Adj.
Adj. แบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ.
1. Descriptive Adj. คุณศัพท์บอกลักษณะ(หรือคุณภาพ) เช่น Good, fat, tall, thin, rich ,etc.
2. Proper Adj. คุณศัพท์บอกชื่อเฉพาะ(บอกสัญชาติ)คือเป็นAdj. ที่มีรูปมาจากคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น Thai (มาจาก Thailand), English (มาจาก England)…
3. Quantitative Adj. คุณศัพท์บอกปริมาณ(ว่ามากหรือน้อยเท่านั้น) ได้แก่คำว่า many, much, little, some, any, all . เช่น He has many friend เขามีเพื่อนมาก.
4. Numeral Adj. คุณศัพท์ที่บอกจำนวน(ว่ามีเท่าไร) ได้แก่คำว่า One, Two, Three…
5. Demonstrative Adj. คุณศัพท์ชี้เฉพาะ(เจาะจงว่าเป็นคนนั้นคนนี้ มิได้หมายถึงคนอื่น)ได้แก่คำว่า the, same, this, that, these, those, such, such a . เช่น He is in the same room. เขาอยู่ห้องเดียวกัน.
6. Possessive Adj. คุณศัพท์บอกเจ้าของ(มีรูปมาจากบุรุษสรรพนามที่ 3 )แต่เวลาใช้จะต้องมีนามตามหลังด้วยเสมอ ได้แก่คำว่า my, your, our, his, her, its, there . เช่น His dog is white. สุนัขของเขาสีขาว.
7. Interrogative Adj. คุณศัพท์คำถาม (ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคำถาม ต้องวางไว้หน้านามเสมอ ถ้าไม่มีนามตามหลังมันจะเป็นปฤจฉาสรรพนาม) ได้แก่คำว่า What (อะไร), Which (อันไหน) ,Whose (ของใคร)เช่น Whose house is that ? นั้นคือบ้านของใคร ? .
8. Distributive Adj. คุณศัพท์แบ่งแยก(ใช้ขยายนามเพื่อแบ่งแยกให้เป็นรายบุคคลหรือรายสิ่งตามที่ผู้พูดต้องการ) และนามที่ถูกขยายนั้นต้องเป็นเอกพจน์ตลอดไป ได้แก่คำว่า each, (แต่ละ), either (อันใดอันหนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง), neither (ไม่ทั้งสอง), every (ทุกๆ) เช่น Either blank is flooded. แต่ละฝั่งของแม่น้ำถูกน้ำท่วม.
6. Conjunction คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมคำ วลี หรือประโยคเข้าด้วยกัน
Conjunction คำสันธาน
Conjunction (คำสันธาน) คือคำที่ใช้เชื่อมประโยคต่อประโยค คำต่อคำ หรือระหว่างกริยาต่อกริยา Conjunction แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. Conjunction คำเดียว
2. Conjunction คำผสมหรือวลี
Conjunction คำเดียวที่พบเห็นบ่อย และใช้กันแพร่หลายมีดังนี้ and, or, but, because, so, as, for, whether, until, after, before, if, though, that, when, beside เช่น He is sick so he go to see doctor. เขาไม่สบาย ดังนั้นเขาจึงไปหาหมอ.
Conjunction วลี หรือคำผสมที่พบเห็นบ่อยๆได้แก่คำต่อไปนี้คือ
- Either….or แปลว่า”ไม่อันใดก็อันหนึ่ง” ใช้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าไปควบประธาน 2 คำจะใช้กริยาเป็นรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์นั้นขึ้นอยู่กับประธานตัวหลัง เช่น Either he or I am mistaken. ไม่เขาก็ผมเป็นผู้ผิด.
- Neither…..or แปลว่า “ไม่ทั้งสอง” ไว้สำหรับปฏิเสธโดยสิ้นเชิง(กริยาถือตามประธานตัวหลัง).เช่น เช่น Neither you nor he studies mathematics. ทั้งคุณและเขาไม่ได้เรียนคณิตศาสตร์.
- As well as แปลว่า "เช่นเดียวกันกับ" (กริยาถือตามประธานตัวหน้า) เช่น He as well as I is sick เขาก็เช่นเดียวกันกับผมไม่สบาย.
- Not only………but also แปลว่า “ ไม่เพียงแต่……..เท่านั้น แต่ยังอีกด้วย” ใช้เน้นน้ำหนักข้อความทั้งสองให้เด่นชัด (แต่ต้องมีความหมายทางเดียวกัน) (แต่ถ้ามีประธาน 2 ตัวใช้กริยาตามประธานตัวหลัง ) เช่น Malisa is not only beautiful but also clever. มาลิสาไม่เพียงแต่สวยเท่านั้น แต่ยังฉลาดอีกด้วย.
7. Preposition คำบุรพบท คือคำที่ใช้แสดงความสัมพันธ์กันของคำหรือวลีในประโยค
Preposition คำบุพบท
Preposition (คำบุรพบท) คือคำที่ใช้เชื่อม หรือแสดงความสำพันธ์ระหว่างคำต่อคำ เช่น นามต่อนาม, กริยากับนาม, กริยากับสรรพนาม สรรพนามกับนาม, หรือนามกับสรรพนาม.
Preposition ในภาษาอังกฤษแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ.
1. Preposition คำเดียว [Single Preposition].
2. Preposition วลี [Preposition phrase].
Preposition คำเดียวที่พบเห็นบ่อยๆและนิยมใช้กันมากมีอยู่ 44 คำคือ in, on, at, under, to, from, of, off, since, for, near, around, inside, outside, beneath, towards, into, till, until, from…to, with, without, by, up, down, after, before, beside, besides, against, through, across, along, above, over, behind, below, underneath, during, between, among, from…until, within, forwards .
Preposition คำเดียว
การใช้ in, at, on บุรพบทที่ใช้กับเวลามีหลักดังนี้.
In: ใช้บอกเวลาที่เป็นชื่อเดือน, ปี, ฤดูกาล, และส่วนของวัน เช่น I like to swim in the morning. ผมชอบว่ายน้ำในเวลาเช้า.
At : ใช้เพื่อบอกเวลาเกี่ยวกับชั่วโมง , noon, night, midnight, midday, Christmas, Easter เพื่อบอกเวลาเฉพาะเจาะจง เช่น They want home at three o’clock, พวกเขากลับบ้านเวลา 15.00 น.
On : ใช้เพื่อบอกเวลาที่เป็นวันของสัปดาห์ และวันที่ วันสำคัญทางราชการ และวันสำคัญทางศาสนา เช่น on Sunday, On New Year’s Day , On King’s Birthday. etc.
On time แปลว่า ตรงเวลาพอดี (ตรงพอดี). เช่น He come on time. เขามาตรงเวลาพอดี.
In time แปลว่า ทันเวลา (ก่อนเวลา, ก่อนกำหนด). เช่น The train arrived at the station in time. รถไฟมาถึงสถานีทันเวลา(มาถึงก่อนเวลา).
การใช้ at, in บุรพบทที่ใช้เกี่ยวกับสถานที่มีหลักดังนี้
at : ใช้บอกสถานที่ที่ไม่ใหญ่โตนัก ที่จำกัดแน่นอน เช่น at school, at the hotel….
in : ใช้บอกสถานที่ที่ใหญ่โตก็ได้เช่น in Thailand. หรือใช้บอกสถานที่ที่เจาะจงภายในแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ว่าใหญ่หรือโตก็ได้ เช่น In the house, in a country เป็นต้น.
การใช้ During, between, among มีหลักเกณฑ์ดังนี้
คำทั้ง 3 แปลว่า “ ระหว่าง” แต่ใช้ต่างกันดังนี้
During: ใช้สำหรับบอกระยะเวลาการกระทำช่วงใดช่วงหนึ่งตามที่ระบุไว้ในประโยค เช่น During visiting Thailand, I had seen the Emerald Buddha Temple. ระหว่างการมาเที่ยวประเทศไทย ฉันได้ไปชมวัดพระแก้ว เป็นต้น.
Between: ใช้สำหรับครั่นระหว่างของสองอย่าง หรือคนสองคน เช่น She is standing between you and me. หล่อนยืนอยู่ระหว่างคุณและผม (เมื่อใช้ between ต้องมี and ตามเสมอ).
Among : ใช้สำหรับครั่นหรือเชื่อมนาม ที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ขึ้นไป เช่น The teacher is standing among us . เป็นต้น
การใช้ in, on, by กับยานพาหนะ
in : ใช้กับยานพาหนะที่มีสภาพปิด กำบัง เช่น in the bus, in the plane…
on : ใช้กับยานพาหนะที่มีสภาพเปิดโล่ง แจ้ง ไม่ปกปิดกำบัง เช่น on a house, on a motor-cycle..
by : ใช้ได้ทั้งปิดและเปิด แต่ต้องไม่มี Article นำหน้า เช่น by bus, by train
การใช้ on, over, above มีหลักดังนี้
on : ใช้บอกว่าของที่อยู่บนที่ติดอยู่กับอันล่าง.
over : ใช้บอกว่าของอยู่เหนือหัวพอดี.
above : ใช้บอกว่าของนั้นอยู่ด้านบน(กว้างๆ).
Preposition วลี
Preposition วลี คือบุรพบทตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมารวมอยู่ด้วยกัน และมีความหมายเสมือนเป็นบุรพบทคำเดียว แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. บุรพบทวลีชนิด 2 ตัว [ two words Preposition].
2. บุรพบทวลีชนิด 3 ตัว [three words Preposition].
บุรพบทชนิด 2 ตัว ได้แก่บุรพบทต่อไปนี้คือ
according to ตาม , instead of แทน , แทนที่
because of เพราะว่า, owing to เนื่องจาก.
บุรพบทชนิด 3 ตัวได้แก่บุรพบทต่อไปนี้คือ
in order to : เพื่อที่จะ , by means of : โดยอาศัย
on account of : เนื่องจาก , in spite of : ถึงแม้ว่า
in front of : ข้างหน้า , in back of : ข้างหลัง
for the sake of : เพื่อเห็นแก่ , of the point of : เกือบจะ
on the point of : เกือบจะ , in consequence of : เนื่องจากว่า
* หมายเหตุ ในเรื่องการใช้บุรพบทนี้ ยังมี กริยาบางตัวที่มีข้อบังคับว่าต้องใช้บุรพบทตัวใดตามหลังอีกด้วย อย่างเช่น belong to (เป็นของ ) , arrive at (มาถึงสถานที่เล็กๆ), ask…. for (ขอ), agree with (เห็นด้วย ตกลงด้วย), consist of (ประกอบด้วย) protect from (ป้องกันจาก), believe in (เชื่อ,มีศรัทธา), live on (กินเป็นอาหาร) , make of (ทำด้วย), be afraid of (กลัว,เกรงกลัว) เป็นต้น ซึ่งเราควรค้นคว้าศึกษาไว้ถ้ามีโอกาส.
Interjection คำอุทาน
การอุทาน (Interjection = อินเตอร์เจคชั่น) คือคำพูดที่พูดออกไปด้วยอารมณ์ต่างๆ เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะนั้น เช่น ดีใจ เสียใจ หรือ โกรธ เป็นต้น
รูปแบบของการอุทาน มี 2 ชนิด คือ
1. การอุทานที่เป็นคำเดียวโดดๆ หรือเป็นกลุ่มคำ (วลี) เช่น
1. ประหลาดใจ
- Oh! (โอ) = โอ! ออ! โอ้โฮ!
- Indeed (อินดีด) = จริงๆ! แท้จริง!
- Wow (เวา) = โอ้โฮ!
2. เศร้าใจ
- Alas! (อะแล็ส) = โอย! ตายจริง!
- Ah! (อา) (= อา! โอย!
- Alack! (อะแล็ค) = อนิจจา!
3. ดีใจ
- Hurrah (ฮูรา) = ไชโย!
- Ha! (ฮา) = ฮา!
- Bravo! (บราโว) = ไชโย!
4. รังเกียจ
- Ugh! (อุฮ) = ทุด! ถุย!
5. เหยียดหยาม
- Dam! (แด็ม) = สมน้ำหน้า!
- Pooh! (พู่) = ชึ!
- Bosh! (บ็อช) = เหลวไหล!
6. ติเตียน
- Fie! (ไฟ) = เชอะ! ถุย!
7. เตือนให้ระวัง
- Hark! (ฮ้าค) = ฟัง!
- Hush! (ฮัช) = อย่าทำเสียงดัง!
8. เรียกหรือทักทาย
- Ho! (โฮ) = ฮ้า!
- Hello (เฮ็ลโล) = สวัสดี!
- Hullo (ฮะโล) = ฮัลโหล!
คำอุทานที่เป็นกลุ่มคำได้แก่
1. Well done! (เว็ล ดัน) = เยี่ยมไปเลย!
2. Just my luck! (จัสท มาย ลัค) = โชคของผมแท้ๆ!
3. O dear me! (โอ เดียร์ มี) = โอ่ ได้โปรดเถอะ!
2. การอุทานที่ออกมาในรูปแบบของประโยค เช่น ประโยคอุทานที่ขึ้นต้นด้วย What และ How เช่น
1. What a pity! (ว็อท อะ พิททิ)
ช่างน่าสงสารอะไรอย่างนั้น
2. What a mess! (ว็อท อะ เมส)
มันช่างสับสนอะไรอย่างนั้น
3. What a fool he is!(ว็อท อะ ฟูล ฮี อีส)
เขาช่างโง่อะไรอย่างนั้น!
4. What a shame you can’t come!
(ว็อท อะ เชม ยู ค้านท คัม)
ช่างน่าอานอะไรอย่างนั้นที่คุณมาไม่ได้!
5. What an awful noise!
(ว็อท แอน ออฟูล นอยซ)
มันช่างเสียงดังอะไรอย่างนั้น!
6. What a nuisance! (ว็อท อะ นิวซันซ)
มันช่างน่ารำคาญอะไรอย่างนั้น
7. What a shame! (ว็อท อะ เชม)
ช่างน่ายอายอะไรอย่างนั้น!
8. What a pretty girl!
(ว็อท อะ พริททิ เกิล)
เธอช่าน่ารักอะไรอย่างนั้น!
9. What an expensive dress!
(ว็อท แอน อิ๊คซเพนซีฟว เดรส)
ชุดอะไรช่างแพงอย่างนั้น!
10. What a large room!
(ว็อท อะ ลาจ รูม)
ห้องอะไรช่างใหญ่อย่างนั้น!
11. What lovely children! (ว็อท ลัฟลิ ชินเดรน)
ช่างเป็นเด็กที่น่ารักอะไรอย่างนั้น
12. What delicious food it is!
(ว็อท ดิลิซซัส ฟูด อิท อีส)
มันช่างเป็นอาหารที่อร่อยอะไรอย่างนั้น!
13. How nice of you to come!
(ฮาว ไนซ ออฟ ยู ทู คัม)
ช่างดีเหลือเกินที่คุณมาได้!
14. How cold this room is!
(ฮาว โคลด ธิส รูม อีส)
ห้องนี้ช่างหนาวะไรอย่างนั้น!
15. How strong he is!
(ฮาว สตรอง ฮี อีส)
เขาช่างแข็แรงอะไรอย่างนั้น!
16. How quickly the time passes!
(ฮาว ควิคลี่ เธอะ ไทม พาสเสซ)
เวลาช่างผ่านไปรวดเร็วอะไรอย่างนั้น!
17. How heavy it rains!
(ฮาว เฮ็ฟวี่ อิท เรนส)
ฝนช่างตกหนักอะไรอย่างนั้น!
ประโยคอุทาน บางอย่างก็ขึ้นต้นด้วยคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) เช่น
1. Away you go! (อะเวย์ ยู โก)
แกออกไปซะ!
2. Here it comes! (เฮีย อิท คัมส)
มานี่แล้วไง
3. There they are! (แธร์ เธย์ อาร์)
พวกเขาอยู่ที่นั่นเอง
4. There goes the bus!
(แธร์ โกส เธอะ บัส)
รถโดยสารไปโน่นแล้ว
นอกจากนี้ประโยคอุทาน ยังใช้เพื่อการอวยพร หรือแสดงความยินดีได้อีกด้วย เช่น
1. Long live the King.
(ลอง ลีฟ เธอะ คิง)
ขอจงทรงพระเจริญ
2. God save you. (กอด เซฟว ยู)
ขอให้พระเจ้าคุ้มครองคุณ
3. Have a good trip.
(แฮ็ฟ อะ กูด ทริพ)
ขอให้เดินทางโดยปลอดภัย
4. Best of luck. (เบสท ออฟ ลักค)
ขอให้โชคดี
Interjection | Meaning | Example |
ah | expressing pleasure | "Ah, that feels good." |
expressing realization | "Ah, now I understand." | |
expressing resignation | "Ah well, it can't be helped." | |
expressing surprise | "Ah! I've won!" | |
alas | expressing grief or pity | "Alas, she's dead now." |
dear | expressing pity | "Oh dear! Does it hurt?" |
expressing surprise | "Dear me! That's a surprise!" | |
eh | asking for repetition | "It's hot today." "Eh?" "I said it's hot today." |
expressing enquiry | "What do you think of that, eh?" | |
expressing surprise | "Eh! Really?" | |
inviting agreement | "Let's go, eh?" | |
er | expressing hesitation | "Lima is the capital of...er...Peru." |
hello, hullo | expressing greeting | "Hello John. How are you today?" |
expressing surprise | "Hello! My car's gone!" | |
hey | calling attention | "Hey! look at that!" |
expressing surprise, joy, etc. | "Hey! What a good idea!" | |
hi | expressing greeting | "Hi! What's new?" |
hmm | expressing hesitation, doubt or disagreement | "Hmm. I'm not so sure." |
oh, o | expressing surprise | "Oh! You're here!" |
expressing pain | "Oh! I've got a toothache." | |
expressing pleading | "Oh, please say 'yes'!" | |
ouch | expressing pain | "Ouch! That hurts!" |
uh | expressing hesitation | "Uh...I don't know the answer to that." |
uh-huh | expressing agreement | "Shall we go?" "Uh-huh." |
um, umm | expressing hesitation | "85 divided by 5 is...um...17." |
well | expressing surprise | "Well I never!" |
introducing a remark | "Well, what did he say?" | |
wow | expressing wonder | “Wow! She looks gorgeous.” |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น