อัตราส่วน
1.
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า อัตราส่วน b : a เป็นอัตราส่วนเดียวกันกับ a : b ในทุก ๆ กรณี
แต่ในกรณีที่ a ¹ b อัตราส่วน b : a จะไม่เป็นอัตราส่วนเดียวกันกับ a
: b
2.
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า อัตราส่วนและเศษส่วนมีความหมายเหมือนกัน
เพราะในบางครั้งเราเขียนแทนอัตราส่วนในรูปเศษส่วน ในความเป็นจริง
อัตราส่วนเป็นการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป ซึ่งไม่ใช่จำนวน
แต่เศษส่วนเป็นจำนวนชนิดหนึ่ง
3.
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ในการหาอัตราส่วนที่เท่ากัน
สามารถทำได้โดยนำจำนวนมาบวกทั้งจำนวนแรกและจำนวนหลังของอัตราส่วน
แต่เมื่อตรวจสอบการเท่ากันของอัตราส่วนแล้ว
จะพบว่าอัตราส่วนที่ได้จากวิธีดังกล่าวไม่เป็นอัตราส่วนที่เท่ากัน
สัดส่วน
นักเรียนมักเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า
สัดส่วนมีความหมายเช่นเดียวกับอัตราส่วน เช่น สัดส่วนของน้ำตาลต่อแป้ง เป็น 2
: 3 แต่ในทางคณิตศาสตร์ สัดส่วนและอัตราส่วนแตกต่างกัน
โดยสัดส่วนเป็นประโยคที่แสดงการเท่ากันของอัตราส่วนแต่อัตราส่วนเป็นการเปรียบเทียบปริมาณตั้งแต่สองปริมาณขึ้นไป
ร้อยละ
นักเรียนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า
ถ้าสินค้าราคา 120 บาท ลดราคา 20 % แล้วจะเหลือ 100 บาท แต่จริง ๆ แล้ว ราคาที่ลดคือ 20% ของ 120
บาท ซึ่งคือ 24 บาท ดังนั้น ราคาสินค้าจะเหลือ
96 บาท
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น