จำนวนนับ 1-10 และ 0
1. เราสามารถบอกจำนวนของสิ่งต่าง ๆ ได้จากการนับ
2. ถ้าไม่มีสิ่งของอยู่เลย ถือว่า มีจำนวนเป็นศูนย์
3. หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ เป็นจำนวนนับที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง
4. ตัวเลขฮินดูอารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 ตัวเลขไทย ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐ ตัวหนังสือ ศูนย์ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เจ็ด แปด เก้า สิบ เป็นสัญลักษณ์ใช้เขียนแสดงจำนวน
5.การเปรียบเทียบจำนวนนับโดยการจับคู่ของสองกลุ่ม ถ้าจับคู่กันได้พอดี แสดงว่าทั้งสองกลุ่มมีจำนวนเท่ากันหรือจำนวนในกลุ่มที่หนึ่งเท่ากับจำนวนในกลุ่มที่สอง ถ้าจับคู่ไม่พอดี แสดงว่าจำนวนในสองกลุ่มไม่เท่ากันหรือจำนวนในกลุ่มที่หนึ่งไม่เท่ากับจำนวนในกลุ่มที่สอง กลุ่มที่มีของเหลืออยู่จะมีจำนวนมากกว่า อีกกลุ่มมีจำนวนน้อยกว่า
6. เท่ากับ ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า เป็นคำที่ใช้ในการเปรียบเทียบจำนวน
7. การเรียงลำดับจำนวนอาจเรียงลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมาก โดยพิจารณาจำนวนที่มากที่สุดและจำนวนที่น้อยที่สุดก่อน แล้วนำจำนวนที่เหลือมาเปรียบเทียบกัน
8. ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม เป็นการเขียนแสดงจำนวนในรูปของจำนวนสองจำนวนขึ้นไป เช่น 5 อาจเขียนเป็น 1 กับ 4 หรือ 2 กับ 3 หรือ 0 กับ 5
9. การสังเกตลักษณะการวางสิ่งต่าง ๆ ช่วยบอกจำนวนได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องนับ
การบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 10
1. จำนวนสองจำนวนรวมกันหาจำนวนทั้งหมดได้โดยการนับ
2. จำนวนสองจำนวนรวมกัน แล้วได้ผลรวมของสองจำนวนนั้น เขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์การบวกได้ เช่น
1 + 2 = 3
3. สามารถหาผลบวกได้โดยการวาดรูป
4. จำนวนใดบวกกับ 0 หรือ 0 บวกกับจำนวนใด ผลบวกจะเท่ากับจำนวนนั้น
5. จำนวนเดียวกันบวกกัน และมีผลบวกไม่เกิน 10 ได้แก่ 1 + 1 = 2 2 + 2 = 4 3 + 3 = 6 4 + 4 = 8
5 + 5 = 10
6. จำนวนสองจำนวนที่บวกกันได้ 10 ได้แก่ 1 กับ 9 9 กับ 1 5 กับ 5 2 กับ 88 กับ 2 3 กับ 7 7 กับ 3 4 กับ 66 กับ 410 กับ 00 กับ 10
7. จำนวนสองจำนวนที่บวกกันและมีผลบวกเท่ากันมีได้หลายคู่ เช่น 4 = 0 + 4 4 = 1 + 3 4 = 2 + 2 4 = 3 + 1 4 = 4 + 0
8. จำนวนสองจำนวนบวกกัน เมื่อสลับที่กันผลบวกยังคงเท่าเดิม
9. เรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการนำจำนวนมารวมกันเป็นสถานการณ์การบวก
10. การแก้โจทย์ปัญหาทำได้โดย อ่านทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้การวาดรูป หาคำตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ
11. โจทย์ปัญหามีส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่โจทย์ถาม
การลบจำนวนสองจำนวนที่ตัวตั้งไม่เกิน 10
1. จำนวนของสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดเมื่อเอาออกไปจำนวนหนึ่งสามารถหาจำนวนที่เหลือได้ด้วยการลบ
เช่น 5 - 1 = 4 (5 คือ ตัวตั้ง 1 คือ ตัวลบ 4 คือ ผลลบ)
2. การเปรียบเทียบจำนวนสองจำนวนว่ามากกว่ากันหรือน้อยกว่ากันเท่าไร ทำได้ด้วยการลบ โดยจำนวนที่มากกว่าเป็นตัวตั้ง จำนวนที่น้อยกว่าเป็นตัวลบ
3. จำนวนทั้งหมดที่เป็นการรวมของจำนวนสองจำนวน เมื่อรู้จำนวนหนึ่งในสองจำนวนนั้นสามารถหาอีกจำนวนหนึ่งได้ด้วยการลบ โดยจำนวนทั้งหมดเป็นตัวตั้ง
4. จำนวนใดลบด้วยศูนย์ ได้ผลลบเท่ากับจำนวนนั้น
5. จำนวนที่เขียนในรูปความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม เมื่อรู้จำนวนที่เป็นส่วนรวมและจำนวนที่เป็นส่วนย่อยหนึ่งจำนวน สามรรถหาจำนวนที่เป็นส่วนย่อยอีกหนึ่งจำนวนได้ด้วยการลบ
6. สามารถใช้กรอบสิบในการหาผลลบ
7. สามารถใช้เส้นจำนวนในการหาผลลบ
8. สามารถใช้ความสัมพันธ์ของการบวกและการลบ ในการหาค่าตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวกและประโยคสัญลักษณ์การลบ
9. สถานการณ์การลบ ได้แก่ สถานการณ์ที่แสดงการเอาออกเพื่อหาจำนวนที่เหลือ สถาการณ์ที่แสดงการเปรียบเทียบเพื่อหาว่ามากกว่าหรือน้อยกว่ากันอยู่เท่าไร และสถานการณ์ที่แสดงการหาจำนวนหนึ่งเมื่อรู้อีกจำนวนหนึ่งและจำนวนทั้งหมด
10. การแก้โจทย์ปัญหาทำได้โดย อ่านทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหาซึ่งอาจใช้การวาดรูป หาคำตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ
11. โจทย์ปัญหามีส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่โจทย์ถาม
จำนวนนับ 11 ถึง 20
1. สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ เป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละหนึ่ง ตามลำดับ โดยนับต่อจากสิบ
2. สามารถแสดงและบอกจำนวนโดยการใช้กรอบสิบ
3. ตัวเลขฮินดูอารบิก 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 ตัวเลขไทย ๑๑ ๑๒ ๑๓ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๗ ๑๘ ๑๙ ๒๐ ตัวหนังสือ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนจำนวน
4. 11 = 10 + 1, 12 = 10 + 2, 13 = 10 + 3, 14 = 10 + 4, 15 = 10 + 5, 16 = 10 + 6, 17 = 10 + 7, 18 = 10 + 8, 19 = 10 + 9, 20 = 20 + 0 การเขียนจำนวนในลักษณ์นี้11 = 10 + 1, เรียกว่าการเขียนจำนวนในรูปกระจาย
5. การเปรียบเทียบจำนวนโดยใช้เส้นจำนวน จำนวนที่อยู่ทางซ้ายจะน้อยกว่าจำนวนที่อยู่ทางขวา หรือจำนวนที่อยู่ทางขวาจะมากกว่าจำนวนที่อยู่ทางซ้าย
6. เครื่องหมาย = แทน เท่ากับ เครื่องหมาย > แทน มากกว่า เครื่องหมาย < แทน น้อยกว่า ใช้เครื่องหมายเหล่านี้แสดงการเปรียบเทียบจำนวน
7. การเรียงลำดับจำนวน ทำได้โดยหาจำนวนที่มากที่สุด และจำนวนที่น้อยที่สุดโดยอาจใช้เส้นจำนวน แล้วเรียงลำดับจำนวนจากน้อยไปมากหรือจากมากไปน้อย
8. ความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวมเป็นการเขียนแสดงจำนวนในรูปของจำนวน 2 จำนวนขึ้นไป เช่น 11 อาจเขียนเป็น 1 กับ 10 2 กับ 9 3 กับ 8 4 กับ 7 5 กับ 6 หรือ 0 กับ 11
การบวก การลบ จำนวนนับไม่เกิน 20
1. การบวกจำนวนสองจำนวน สามารถหาผลบวกโดยใช้การนับต่อ และการหาผลบวกโดยใช้การนับต่อ ถ้านับต่อจากจำนวนที่มากกว่า จะทำให้หาผลบวกได้เร็วกว่า
2. การบวกจำนวนสองจำนวนสามารถหาผลบวกโดยใช้เส้นจำนวน
3. การหาผลบวกของจำนวนสองจำนวน อาจใช้ผลบวกของจำนวนเดียวกันสองจำนวนช่วยในการหาผลบวก เช่น ถ้ารู้ 5 + 5 = 10 สามารถหา 5 + 6 = 11 และ 5 + 7 = 12
4. การหาผลบวกของจำนวนสองจำนวนอาจใช้การทำให้ครบสิบ
5. การบวกจำนวนสามจำนวนจะบวกสองจำนวนใดก่อนก็ได้ แล้วบวกจำนวนที่เหลือ ผลบวกเท่ากัน และถ้ามีสองจำนวนใดที่บวกครบสิบ ให้บวกสองจำนวนนั้นก่อน แล้วบวกจำนวนที่เหลือ
6. สามารถหาผลลบโดยใช้การวาดรูป
7. สามารถหาผลลบโดยใช้เส้นจำนวน
8. สามารถหาผลลบโดยใช้การนับต่อ โดยนับต่อจากตัวลบไปถึงตัวตั้ง จำนวนครั้งในการนับต่อเป็นผลลบ
9. การลบจำนวนสามจำนวนสามารถนำตัวตั้งลบด้วยตัวลบ 1 หรือ ตัวลบ 2 ก่อน แล้วลบด้วยตัวลบที่เหลือได้ผลลบเท่ากัน
10. สามารถใช้การนับต่อ เส้นจำนวน หรือความสัมพันธ์ของการบวกและการลบช่วยในการหาค่าของตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์การบวก และประโยคสัญลักษณ์การลบ
11. การแก้โจทย์ปัญหาทำได้โดย อ่านทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้การวาดรูป หาคำตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผล
12. การสร้างโจทย์ปัญหาต้องมีทั้งส่วนที่โจทย์บอกและส่วนที่โจทย์ถาม
แผนภูมิรูปภาพ
1. แผนภูมิรูปภาพเป็นแผนภูมิที่ใช้รูปภาพแสดงจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
2. ชื่อแผนภูมิบอกให้รู้ว่าแผนภูมิรูปภาพนั้นแสดงอะไร
3. การอ่านแผนภูมิรูปภาพ เริ่มจากอ่านชื่อแผนภูมิ จากนั้นพิจารณาข้อกำหนดแล้วอ่านข้อมูลแต่ละรายการ
4. เราใช้รอยขีด / บันทึกข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาแสดงเป็นแผนภูมิรูปภาพโดยรูปภาพ 1 รูป แทนรอยขีด 1 ขีด
การวัดน้ำหนัก
1. สิ่งของสองสิ่งที่อยู่บนเครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย สิ่งใดอยู่ในระดับต่ำกว่าสิ่งนั้นจะหนักกว่า สิ่งใดอยู่ในระดับสูงกว่า สิ่งน้ันจะเบากว่า สิ่งของสองสิ่งใดอยู่ในระดับเดียวกัน สิ่งของสองสิ่งนั้นจะหนักเท่ากัน
2. การบอกน้ำหนักของสิ่งของ อาจทำได้โดยการชั่งด้วยเครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย สามารถนำวัตถุที่มีน้ำหนักเท่า ๆ กัน เช่น ลูกแก้ว ฝาขวดน้ำ บล็อกไม้ มาเป็นหน่วยในการบอกน้ำหนัก เช่น น้ำหนักของนม 1 กล่อง เท่ากับ 7 ลูกแก้ว
3. การใช้เครื่องชั่งสปริง ก่อนชั่งสิ่งของเข็มชี้นำ้หนักอยู่ที่ตัวเลข 0 เมื่อชั่งสิ่งของจะอ่านน้ำหนักโดยดูตัวเลขที่เข็มชี้
4. การคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งของต่าง ๆ เป็นการบอกน้ำหนักของสิ่งนั้น โดยไม่ใช้เครื่องชั่ง แต่อาจบอกน้ำหนักได้โดยเปรียบเทียบกับน้ำหนัก 1 กิโลกรัมหรือ 2 กิโลกรัม
5. การเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ 2 สิ่ง เป็นการบอกว่าสิ่งใดหนักเท่ากัน หนักกว่ากัน หรือเบากว่ากันอยู่เท่าไร อาจมีหน่วยเป็นกิโลกรัม
6. น้ำหนัก 1 กิโลกรั เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีด
7. การบอกน้ำหนักของสิ่งของต่ง ๆ อาจบอกเป็นขีดหรือเป็นกิโลกัม
8. การเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ 2 สิ่ง เป็นการบอกว่าสิ่งใดหนักเท่ากัน หนักกว่ากัน หรือเบากว่ากันอยู่เท่าไร อาจมีหน่วยเป็นขีด
9. การแก้โจทย์ปัญหาทำได้โดย อ่านทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้การวาดรูป หาคำตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น