9 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเนื้อหา การวัดน้ำหนัก

 การวัดน้ำหนัก

1. สิ่งของสองสิ่งที่อยู่บนเครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย สิ่งใดอยู่ในระดับต่ำกว่าสิ่งนั้นจะหนักกว่า สิ่งใดอยู่ในระดับสูงกว่า สิ่งน้ันจะเบากว่า สิ่งของสองสิ่งใดอยู่ในระดับเดียวกัน สิ่งของสองสิ่งนั้นจะหนักเท่ากัน

2. การบอกน้ำหนักของสิ่งของ อาจทำได้โดยการชั่งด้วยเครื่องชั่งสองแขนอย่างง่าย สามารถนำวัตถุที่มีน้ำหนักเท่า ๆ กัน เช่น ลูกแก้ว ฝาขวดน้ำ บล็อกไม้ มาเป็นหน่วยในการบอกน้ำหนัก เช่น น้ำหนักของนม 1 กล่อง เท่ากับ 7 ลูกแก้ว

3. การใช้เครื่องชั่งสปริง ก่อนชั่งสิ่งของเข็มชี้นำ้หนักอยู่ที่ตัวเลข 0 เมื่อชั่งสิ่งของจะอ่านน้ำหนักโดยดูตัวเลขที่เข็มชี้

4. การคาดคะเนน้ำหนักของสิ่งของต่าง ๆ เป็นการบอกน้ำหนักของสิ่งนั้น โดยไม่ใช้เครื่องชั่ง แต่อาจบอกน้ำหนักได้โดยเปรียบเทียบกับน้ำหนัก 1 กิโลกรัมหรือ 2 กิโลกรัม

5. การเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ 2 สิ่ง เป็นการบอกว่าสิ่งใดหนักเท่ากัน หนักกว่ากัน หรือเบากว่ากันอยู่เท่าไร อาจมีหน่วยเป็นกิโลกรัม

6. น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ น้ำหนัก 10 ขีด

7. การบอกน้ำหนักของสิ่งของต่ง ๆ อาจบอกเป็นขีดหรือเป็นกิโลกัม

8. การเปรียบเทียบน้ำหนักของสิ่งของ 2 สิ่ง เป็นการบอกว่าสิ่งใดหนักเท่ากัน หนักกว่ากัน หรือเบากว่ากันอยู่เท่าไร อาจมีหน่วยเป็นขีด

9. การแก้โจทย์ปัญหาทำได้โดย อ่านทำความเข้าใจปัญหา วางแผนแก้ปัญหา ซึ่งอาจใช้การวาดรูป หาคำตอบ และตรวจสอบความสมเหตุสมผลของคำตอบ

ความคิดเห็น